กันยายน 27, 2023

อย่าเซ็น ใบลาออกจากงาน

เป็นปกติของลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทที่หากเป็นฝ่ายเขียนใบลาออกจากงานเอง ก็ไม่สามารถที่จะไปเรียกร้องอะไรได้จากนายจ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างชดเชยต่างๆ และบางบริษัทกลับใช้อำนาจในฐานะนายจ้างกดขี่ต่างๆ หรือไม่ก็เรียกลูกจ้างมาให้เขียนใบลาออกเอง

ล่าสุดผู้ใช้ทวิตเตอร์ “คิดถึงคนบนฟ้า” ได้โพสต์เตือนพนักงานบริษัทลูกจ้างทั้งหลายว่า “ใครโดนให้ออกจากงาน อย่าไปเซ็นใบลาออกนะคะ ให้แจ้งตามจริงว่าโดนให้ออก อย่าไปกลัวเสียประวัติ กลัวเสียสิทธิ์ตัวเองก่อน ลาออกเองเบิกเงินว่างงาน ประกันสังคมได้แค่ 30% x 3 เดือน โดนให้ออกได้ 50% x 6 เดือน(ของฐาน 15,000) ช่วงโควิดเพิ่มกว่านี้ด้วยและ!!!!! (ต่อ)”

ถ้าเซ็นออกเอง ระวังชวด

1. เงินชดเชย จำนวน 1,3,6,10,20 เดือน คำนวนจากอายุงาน

2. หากนายจ้างให้ออกกระทันหัน ต้องได้เงินเพิ่ม ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน

3. ถ้าโดนให้ออกไม่เป็นธรรม ได้เพิ่มอีก 1 เดือน

ทั้งหมดนี้ปรึกษากรมแรงงานได้ฟรี มีนิติกรเดินเรื่องให้ทั้งหมด

การที่บริษัทให้เราออกจากงานโดยที่เราไม่มีความผิด บริษัท ต้องยื่น สปส06-09 เป็นข้อ 3 เท่านั้น!!! ห้ามให้ยื่นเป็นข้ออื่นเรื่องนี้ปรึกษากรมคุ้มครองแรงงาน หรือประกันสังคม 1506 ได้ตลอด(ไม่ต้องปิดกิจการ ลดพนักงาน หรือมีเหตุผลก็ได้ ยื่นเข้าไปได้เลย เลิกจ้าง # ให้ออกเพราะมีความผิด)

นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างอีกว่า แฟนโดนให้ออกจากบริษัทอสังหาบริษัทนึง เค้าเขียนจดหมายให้ออกอย่างดี ว่าเนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ต้องเลิกจ้าง ตอนนั้นออกยกแผนก แต่ได้เงินชดเชยจากบริษัท 4เดือน+ค่าตกใจอีกหนึงเดือนไม่รวมเงินเดือนเดือนนั้นนะ แล้วประกันสังคมจ่ายเดือนล่ะหมื่นอีก 6เดือน อย่าลืมสิทธิ์ตัวเองกันนะ

จริง อย่าเซ็น​ ชั้นโดนเลยงานแรกในชีวิต บอกเช้า ช่วงพักโทรปรึกษา​ก.แรงงาน ออกตอนเย็นรับเงินที่เหลือกลับห้องไปยื่นคำร้องออนไลน์ วันรุ่งขึ้นก.แรงงานโทรหาฝั่งนู้นเลยค่ะ ถ้าไม่ผิดไม่ต้องกลัว ก.แรงงานช่วยลูกจ้างก่อนเสมอ //ของเราจบที่ไกล่เกลี่ย​แล้วอีกฝ่ายยอมจ่าย เพราะเค้าไม่อยากขึ้นศาล

อย่าเซ็นถ้าหากว่าไม่อยากชวดสิทธิ์ดีๆไป

ขอขอบคุณ : คิดถึงคนบนฟ้า

เรียบเรียงโดย : chuydaily