กลายเป็นประเด็นที่กำลังร้อนแรงในตอนนี้ กรณี จอนนี่ มือปราบ หรืออดีตดาบตำรวจชื่อดังซึ่งปัจจุบันเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ถูกแจ้งความดำเนินคดีจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ฐานบุกรุกพื้นที่นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย จ.อุบลราชธานี
หลังมีการสร้างรีสอร์ตบนพื้นที่ที่รัฐถือกรรมสิทธิ์ โดยเจ้าตัวยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตามขั้นตอน และมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มานานก่อนที่รัฐจะออกระเบียบควบคุม
ล่าสุด ทางด้านของ ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ได้ออกมาอธิบายเปิดมุมมองในแง่มุมกฎหมายอีกครั้งว่า “เมื่อคืนนั่งดูกฎหมายป่าไม้, ควบคุมอาคาร, การบุกรุกที่สาธารณะและสุดท้ายคือสมคบกันฟอกเงินเข้าใจแล้วว่าตำรวจตัดตำรวจด้วยกันเดี๋ยวดูถ้าจอห์นนี่ยังไม่เงียบฟอกเงินตามมาแน่ๆ เพราะกฎหมายมันเอื้อ 

แต่คำถามที่สังคมสงสัยคือเลือกปฏิบัติ หรือไม่  ทนายรณณรงค์ชี้! คดีจอนนี่ รีสอร์ตกลางนิคมลำโดมน้อย เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ชัดเจน แม้ไม่ใช่ป่าสงวน กฎหมายป่าไม้ ไม่ได้คุ้มครองเฉพาะ “ป่าสงวน” หรือ “อุทยาน” เท่านั้นนะครับ มันคุ้มครอง ที่ดินของรัฐทุกประเภท ที่ยังไม่มีใครได้กรรมสิทธิ์ด้วยซ้ำ

มาตรา 54 พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ชัดเจนเลยว่า ห้ามใครก็ตามไปแผ้วถาง เผา ยึดถือ หรือทำลาย “ป่า” โดยไม่ขออนุญาตจากรัฐ
โทษหนักมาก
• จำคุกไม่เกิน 5 ปี
• หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
• หรือทั้งจำทั้งปรับ
และอย่าคิดว่าแค่สร้างบ้าน รีสอร์ตจะรอดพ้นนะครับ เพราะเขียนไว้เลยว่า “กระทำการอื่นใดอันเป็นการทำลายป่า” ก็โดนได้เหมือนกัน
“ป่า” ตามกฎหมายคืออะไร?
นิยาม “ป่า” ในมาตรา 4 (1) ระบุว่า: ที่ดินที่ยังไม่มีใครได้มาตามกฎหมายที่ดิน เช่น โฉนด, น.ส.3, หรือใบอนุญาตครอบครอง แปลว่า ถ้าใครเข้าไปใช้ที่ดินของรัฐที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ ไม่ว่าจะอยู่
ในภูเขา ทุ่งนา หรือใน “นิคม” ก็ตาม แล้วไปปลูกสร้างอะไรโดยพลการ = ถือว่าบุกรุกป่าโดยตรง
แล้วกรณีจอนนี่ มือปราบ เข้าเงื่อนไขนี้ไหม?
1. ที่ดินนิคมลำโดมน้อย มีพื้นที่ 20% กันไว้เป็น “ป่าไม้ส่วนกลางของชุมชน”
2. พื้นที่นั้น ไม่มีเอกสารสิทธิ ไม่ใช่โฉนด ไม่ใช่ ส.ป.ก. ไม่ใช่ น.ส.3
3. จอนนี่เข้าไปสร้าง “รีสอร์ต” ตั้งแต่ปี 64 โดยไม่มีหนังสืออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้มีอำนาจ

4. มีการแผ้วถางพื้นที่ ล้อมรั้ว ปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างอย่างถาวร
เข้าข่าย “กระทำการทำลายป่า” อย่างชัดเจน
และพื้นที่นี้ถือเป็น ป่า ตามนิยามมาตรา 4

สุดท้ายแล้ว…ไม่ต้องรอให้ใครประกาศว่าเป็น “ป่าสงวน” ก็ผิดได้ครับ ถ้าคุณเข้าไปบุกรุกที่ของรัฐโดยไม่มีสิทธิ กฎหมายป่าไม้ก็ใช้ลงโทษได้เลยเต็ม ๆ และที่สำคัญที่สุด… กฎหมายนี้แรงกว่ากฎหมายจัดที่ดินของนิคมอีกด้วยนะครับ
สรุปง่าย ๆ แบบชาวบ้าน: ถ้าไม่มีสิทธิ ก็ไม่มีสิทธิ! อยู่ดี ๆ ไปปลูกรีสอร์ตบนป่าชุมชนในนิคม โดยไม่ขอใคร → ผิดทั้งทางนิคม และผิดทางป่าไม้ด้วย

อ้างอิงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง:
• พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 54, 73
• พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 15, 41″
ขอบคุณข้อมูล: รณณรงค์ แก้วเพ็ชร์